เมนู

อธิบายวากยสัมพันธ์
ภาคที่ 3
พระโศภนคณาภรณ์1 (สุวฑฺฒโน ป. ธ. 9)
วัดบรมนิเวศวิหาร เรียบเรียง
วากยสัมพันธ์
(147) นักเรียนได้ศึกษาวจีภาค รู้จักส่วนแห่งคำพูด
แล้ว ควรศึกษาให้รู้จักวิธีประกอบคำพูดเข้าเป็นพากย์ เพื่อ
เป็นประโยชน์ในการพูดหรือแต่งหนังสือ ซึ่งแสดงความให้
ผู้อื่นเข้าใจ เหมือนนายช่างผู้ฉลาดรู้จักปรุงทัพพสัมภาระให้
เป็นเรือน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้จะอยู่ฉะนั้น. วิธีประกอบ
คำพูดเข้าเป็นพากย์นั้น เรียกว่า วากยสัมพันธ์.

อธิบาย [1] ส่วนแห่งคำพูดซึ่งนักเรียนผู้ศึกษาวจีวิภาคได้
รู้จักแล้ว คือ นาม อัพยยศัพท์ สมาส ตัทธิต อาขยาต และกิตก์.
วจีภาคทั้ง 6 ส่วนเหล่านี้ แต่ละส่วนเป็นอวัยวะสำคัญแห่งวากย-
สัมพันธ์ ดุจอวัยวะทุกส่วนของคน หรือทัพพสัมภาระคือเครื่องไม้
ทุกชิ้นของเรือน [เพราะคำพูดสำหรับประกอบเข้าเป็นพากย์ คือ
คำพูดที่แบ่งไว้ในวจีวิภาคนั่นเอง]. เหตุฉะนี้ จึงต้องเรียนก่อน ให้
เข้าใจช่ำชองและทรงจำไว้ให้แม่นยำแล้ว จึงจะสามารถเรียนวากย-
สัมพันธ์ได้. ข้อนี้เปรียบเหมือนจะปรุงทัพพสัมภาระให้เป็นเรือน จำ

1. ปัจจุบันเป็น สมเด็จพระญาณสังวร.