หัวข้อวินิจฉัยปัญหาวินัยบัญญัติ
ของ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
1. พึงพิจารณาคำในสิกขาบท และพึงเข้าใจความในคำนั้น
เช่นคำว่า อวดอุตตริมนุสสธรรม พูดปด ฆ่าสัตว์ คำเหล่านี้ บางคำ
ก็บ่งเจตนาอยู่ในตัว บางคำก็ไม่บ่ง.
2. พึงรู้ประสงค์แห่งการตั้งสิกขาบท เช่นห้ามพูดมุสา ห้าม
เปิดหรือปิดอาบัติ ห้ามไม่ให้เทน้ำมีตัวสัตว์รดดินหรือหญ้า.
3. พึงกำหนดเจตนา สิกขาบทบางอย่างต่อมีเจตนาและทำ
ฝ่าฝืนจึงเป็นอันล่วง สิกขาบทบางอย่างไม่บ่งเจตนา เช่นนี้สักว่าทำ
ก็เป็นอันล่วง. เจตนาก็พึงกำหนดรู้ด้วยคำว่าแกล้ง รู้อยู่ เป็นต้น
บางคำก็บ่งเจตนาอยู่ในตัว เช่นพูดปด บางคำก็ไม่บ่ง เช่นดื่ม.
4. พึงกำหนดองค์ของสิกขาบทว่ามีเท่าไร และอย่างไรบ้าง
เช่นอทินนาทาน วัตถุอันมาราชา 5 มาสก เป็นองค์ของปาราชิก ขอจีวร
ต่อคฤหัสถ์ อันเป็นปาจิตตีย์ คฤหัสถ์นั้นไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา
ไม่มีสมัย ไม่ลาภิกษุเข้าบ้านในเวลาวิกาล เฉพาะภิกษุมีในอาราม.
5. พึงเทียบสิกขาบทอันมีความคล้ายคลึงกัน เช่นสังฆาทิเสส
ที่ 6 กับที่ 7 โภชนวรรคที่ 9 แห่งปาจิตตีย์ และโภชนปฏิสังยุตต์