เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลมปัจจนียะ [ติกติกปัฏฐาน] 1.กุสลติกะ 3.อุปาทินนติกะ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นกุศลซึ่งมิใช่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่
เป็นอกุศลซึ่งไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ซึ่งไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากขึ้นเพราะเหตุปัจจัย (ย่อ)

เหตุปัจจัย มี 3 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี 3 วาระ

1. กุสลติกะ 3. อุปาทินนติกะ
[12] สภาวธรรมที่ไม่เป็นกุศลซึ่งไม่ใช่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งกรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอกุศลซึ่งไม่ใช่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งกรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
สภาวธรรมที่ไม่เป็นกุศลและที่ไม่เป็นอกุศลซึ่งไม่ใช่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่ง
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย (ย่อ)

เหตุปัจจัย มี 3 วาระ
สหชาตปัจจัย มี 3 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี 3 วาระ

[13] สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นกุศลซึ่งมิใช่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอกุศลซึ่งมิใช่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 45 หน้า :433 }