เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 3. อุปาทินนติกะ
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งกรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย
มี 3 วาระ (ย่อ)

[23] เหตุปัจจัย มี 7 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ
อธิปติปัจจัย มี 9 วาระ
อนันตรปัจจัย มี 5 วาระ
สมนันตรปัจจัย มี 5 วาระ
สหชาตปัจจัย มี 9 วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ
นิสสยปัจจัย มี 9 วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี 3 วาระ
ปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ
อาเสวนปัจจัย มี 3 วาระ
กัมมปัจจัย มี 7 วาระ ฯลฯ
มัคคปัจจัย มี 7 วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี 11 วาระ (ย่อ)

(พึงขยายให้พิสดารเหมือนปัญหาวารในกุสลติกะ)
[24] สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งกรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 44 หน้า :750 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 4. สังกิลิฏฐติกะ
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งกรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย (1) (ย่อ)

เหตุปัจจัย มี 2 วาระ ฯลฯ
อาเสวนปัจจัย มี 1 วาระ ฯลฯ
วิปากปัจจัย มี 1 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี 2 วาระ

(ย่อ สหชาตวาร ฯลฯ ปัญหาวาร ทุกปัจจัยพึงขยายให้พิสดาร)

1. กุสลติกะ 4. สังกิลิฏฐติกะ
1. ปฏิจจวาร
ปัจจยจตุกกนัย
[25] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งกิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของ
กิเลสอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งกิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย (ย่อ)

เหตุปัจจัย มี 1 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี 1 วาระ (ย่อ)

(สหชาตวาร ฯลฯ ปัญหาวาร ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ 1 วาระ)
[26] สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งกิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของ
กิเลสอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งกิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์กิเลส
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย มี 3 วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งกิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
อาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งกิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 44 หน้า :751 }