เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 4.เหตุสเหตุกทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ เหตุและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ เหตุและ
สัมปยุตตขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่เหตุและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดหลัง ๆ โดย
อนันตรปัจจัย (3)

สหชาตปัจจัยเป็นต้น
[145] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
และที่มีเหตุโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัยโดย
นิสสยปัจจัย (ปัจจัยทั้ง 3 เหมือนกับเหตุปัจจัยในปฏิจจวาร)

อุปนิสสยปัจจัย
[146] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
และที่มีเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เหตุเป็นปัจจัยแก่เหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่
เป็นมูล) เหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่ม
บทที่เป็นมูล) เหตุเป็นปัจจัยแก่เหตุและสัมปยุตตขันธ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงอ้าง
ถึงบทที่เป็นมูลแห่งวาระทั้ง 2 อย่างนี้)
สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็น
เหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้
เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ ความปรารถนาแล้วจึงให้ทาน ฯลฯ
ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ความ
ปรารถนา มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :80 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 4.เหตุสเหตุกทุกะ 7.ปัญหาวาร
(บทที่มีสภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นมูล พึงขยายให้พิสดารด้วยเหตุนี้
ที่เหลือจากนั้น มี 2 วาระ)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุและที่มีเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เหตุและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่เหตุโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย (พึงอ้างถึงมูล 2) เหตุและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่
เป็นเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เหตุและสัมปยุตตขันธ์เป็น
ปัจจัยแก่เหตุและสัมปยุตตขันธ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (1)

อาเสวนปัจจัย
[147] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
และที่มีเหตุโดยอาเสวนปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)

กัมมปัจจัย
[148] สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่
ไม่เป็นเหตุโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย
กัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก
ซึ่งมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มี
เหตุโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตเหตุโดย
กัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่เหตุที่เป็นวิบาก
โดยกัมมปัจจัย (2)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :81 }