เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 4.เหตุสเหตุกทุกะ 7.ปัญหาวาร
พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว
พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็น
เหตุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความ
พรั่งพร้อมด้วยจิตที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็น
ปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานา-
สัญญายตนะโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอนาคตังสญาณ
โดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มี
เหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ (บทนี้เหมือนข้อความข้างต้น
ไม่มีข้อแตกต่างกัน) (2)
สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและ
ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ (บทนี้
เหมือนข้อความข้างต้น ไม่มีข้อแตกต่างกัน) (3)
[138] สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภเหตุและ
สัมปยุตตขันธ์ เหตุจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภเหตุและสัมปยุตตขันธ์
ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภ
เหตุและสัมปยุตตขันธ์ เหตุและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (3)

อธิปติปัจจัย
[139] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและ
ที่มีเหตุโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :76 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 4.เหตุสเหตุกทุกะ 7.ปัญหาวาร
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำเหตุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เหตุจึง
เกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
เหตุโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำเหตุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มี
เหตุแต่ไม่เป็นเหตุจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและ
ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและ
สหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำเหตุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เหตุและ
สัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์และเหตุโดยอธิปติปัจจัย (3)
[140] สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่
เป็นเหตุโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ
ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พระอริยะออกจาก
มรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :77 }