เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 52.ปรามาสสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
ความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์
อาศัยสุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ
ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ
เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ
ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาส
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เพราะอาศัยศรัทธา ราคะที่สัมปยุตด้วยปรามาสจึง
เกิดขึ้น เพราะอาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะ ราคะที่สัมปยุตด้วยปรามาสจึงเกิดขึ้น
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ราคะที่สัมปยุตด้วยปรามาส ฯลฯ ความ
ปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)

ปุเรชาตปัจจัย
[73] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก
ปรามาสโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น
ราคะที่วิปปยุตจากปรามาส ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่
จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่วิปปยุตจาก
ปรามาสโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาส
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :472 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 52.ปรามาสสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่สัมปยุตด้วยปรามาสจึง
เกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยปรามาสโดย
ปุเรชาตปัจจัย (2)

ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[74] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก
ปรามาสโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาส
โดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ปรามาสโดยอาเสวนปัจจัย มี 2 วาระ

กัมมปัจจัยเป็นต้น
[75] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยปรามาสโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยปรามาสเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาส
โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยปรามาสเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยปรามาสเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
วิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เจตนาที่สัมปยุตด้วย
ปรามาสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาส
โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :473 }