เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 50.ปรามาสทุกะ 7.ปัญหาวาร
[29] สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและที่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นปรามาสโดยอุปนิสสยปัจจัย ได้แก่ ปรามาสและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่
ปรามาสโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ

ปุเรชาตปัจจัย
[30] สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาส
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ
เป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่
จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็น
ปรามาสโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปรามาสโดยปุเรชาต-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ปรามาสโดยปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและที่ไม่เป็น
ปรามาสโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ปรามาสและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ปรามาสและสัมปยุตตขันธ์โดย
ปุเรชาตปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :452 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 50.ปรามาสทุกะ 7.ปัญหาวาร
ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[31] สภาวธรรมที่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาสโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ (พึงเพิ่มปัจฉาชาตปัจจัย) เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย
มี 9 วาระ

กัมมปัจจัย
[32] สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาส
โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก
และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เจตนาที่ไม่เป็นปรามาสเป็น
ปัจจัยแก่ปรามาสโดยกัมมปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เจตนาที่ไม่เป็นปรามาสเป็น
ปัจจัยแก่ปรามาส สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (3)

วิปากปัจจัยเป็นต้น
[33] สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาส
โดยวิปากปัจจัย มี 1 วาระ เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย มี 3 วาระ เป็น
ปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย มี 3 วาระ เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย มี 3 วาระ
สภาวธรรมที่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาสโดยมัคค-
ปัจจัย ได้แก่ องค์มรรคที่เป็นปรามาส ฯลฯ (โดยนัยนี้ พึงเพิ่มเป็น 5 วาระ)
เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ

วิปปยุตตปัจจัย
[34] สภาวธรรมที่เป็นปรามาสเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาสโดย
วิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :453 }