เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 46.นีวรณสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์
โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุต
ด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย
อธิปติปัจจัย (3)
[70] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก
นิวรณ์โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว
ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรคแล้ว
พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ
นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดยอธิปติปัจจัย
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์
โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทาน
ศีล ฯลฯ พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินฌาน ฯลฯ จักษุ
ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่วิปปยุตจากนิวรณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะ
ทำความยินดีเพลิดเพลินฌานเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึง
เกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (2)

อนันตรปัจจัย
[71] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
นิวรณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (ในที่นี้ไม่มีคำว่า เกิด
ก่อน ๆ) (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :420 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 46.นีวรณสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
(พึงอ้างบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่วิปปยุตจากนิวรณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่วิปปยุตจากนิวรณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่
โคตรภู ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์
โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์โดย
อนันตรปัจจัย (2)

สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[72] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
นิวรณ์โดยสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญ-
ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัย
[73] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
นิวรณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะแล้ว ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์
อาศัยโทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ ความปรารถนาแล้ว ฆ่า
สัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ราคะ ฯลฯ
ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะแล้ว ให้ทาน สมาทานศีล รักษา
อุโบสถ ฯลฯ ทำฌานให้เกิดขึ้น ฯลฯ ทำวิปัสสนา ฯลฯ มรรค ฯลฯ อภิญญา
ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยโทสะ ฯลฯ ความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ
ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา
... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... มรรค ... ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :421 }