เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 44.นีวรณทุกะ 7.ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่เป็น
นิวรณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วมีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ
เสนาสนะแล้ว ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่
นิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ นิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่นิวรณ์โดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ

ปุเรชาตปัจจัย
[36] สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์โดย
ปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ฯลฯ มี 3 วาระ (ปุเรชาตปัจจัย
เหมือนกับอารัมมณปัจจัย สำหรับสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลพึงจำแนกไว้)

ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[37] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์โดย
ปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ

กัมมปัจจัย
[38] สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์โดย
กัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :405 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 44.นีวรณทุกะ 7.ปัจจยวาร
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและ
กฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล) เจตนาที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตนิวรณ์โดยกัมมปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล) เจตนาที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ นิวรณ์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (3)

วิปากปัจจัยเป็นต้น
[39] สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์โดย
วิปากปัจจัย มี 1 วาระ เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย

วิปปยุตตปัจจัย
[40] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์โดย
วิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (พึงเพิ่ม 4 วาระที่
เหลืออย่างนี้)

อัตถิปัจจัย
[41] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์โดยอัตถิปัจจัย
ได้แก่ กามฉันทนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์
โดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์โดยอัตถิปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (โดยนัยนี้ บทที่มีนิวรณ์เป็นมูล มี 3
วาระ) (3)
[42] สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์โดย
อัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
(ย่อ) (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :406 }