เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 44.นีวรณทุกะ 7.ปัจจยวาร
[29] สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์โดย
อธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณา
กุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออก
จากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค ฯลฯ พิจารณาผล
ฯลฯ พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดย
อธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่ไม่เป็น
นิวรณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้น
นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์โดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ
ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่ไม่เป็นนิวรณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำ
ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตนิวรณ์
โดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่เป็น
นิวรณ์โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ
ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่ไม่เป็นนิวรณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำ
ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิวรณ์และ
สัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :402 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 44.นีวรณทุกะ 7.ปัจจยวาร
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
นิวรณ์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์
โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ มี 3 วาระ (มีเฉพาะ
อารัมมณาธิปติปัจจัยเท่านั้น)

อนันตรปัจจัย
[30] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์โดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ นิวรณ์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่นิวรณ์ที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
(พึงอ้างบทที่เป็นมูล) นิวรณ์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นนิวรณ์ซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย นิวรณ์เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (พึงอ้าง
บทที่เป็นมูล) นิวรณ์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่นิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดหลัง ๆ
โดยอนันตรปัจจัย (3)
[31] สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์โดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นนิวรณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็น
นิวรณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่าน
ผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
ขันธ์ที่ไม่เป็นนิวรณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่นิวรณ์ที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่นิวรณ์โดยอนันตรปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่ไม่เป็น
นิวรณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่นิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตร-
ปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่นิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์โดยอนันตรปัจจัย (3)
[32] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และที่ไม่เป็นนิวรณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
นิวรณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ นิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่
นิวรณ์ที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล) นิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์
ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นนิวรณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
นิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
นิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่นิวรณ์และสัมปยุตตขันธ์ที่เกิด
หลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :403 }