เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 30.คันถคันถสัมปยุตตทุกะ 1.ปฏิจจวาร
เพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจาก
ฌานแล้ว ยินดีเพลิดเพลินฌาน ฯลฯ จักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่เป็นอารมณ์
ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินฌานเป็นต้นนั้น
ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นคันถะเป็นอารมณ์ของคันถะและที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วยินดีเพลิดเพลินฌาน
ฯลฯ จักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินฌานเป็นต้นนั้น คันถะและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น
(พึงขยายความทั้ง 3 วาระนอกนี้ให้พิสดารอย่างนี้) (3)
(พึงเพิ่มคำว่า เพราะปรารภ ในทุกะนี้ไม่มีโลกุตตระเหมือนกับคันถทุกะ ไม่
มีข้อแตกต่างกัน พึงกำหนดแน่นอนว่า เป็นอารมณ์ของคันถะ ในมัคคปัจจัยพึง
เพิ่มเป็น 9 วาระ)
คันถคันถนิยทุกะ จบ

30. คันถคันถสัมปยุตตทุกะ 1. ปฏิจจวาร
1 - 4. ปัจจยจตุกกนัย
เหตุปัจจัย
[107] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะอาศัยสภาวธรรมที่เป็น
คันถะและสัมปยุตด้วยคันถะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ อภิชฌากายคันถะอาศัย
สีลัพพตปรามาสกายคันถะเกิดขึ้น สีลัพพตปรามาสกายคันถะอาศัยอภิชฌา-
กายคันถะเกิดขึ้น อภิชฌากายคันถะอาศัยอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะเกิดขึ้น
อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะอาศัยอภิชฌากายคันถะเกิดขึ้น (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :383 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 30.คันถคันถสัมปยุตตทุกะ 1.ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะอาศัยสภาวธรรมที่เป็นคันถะ
และสัมปยุตด้วยคันถะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์อาศัยคันถะ
เกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นคันถะสัมปยุตด้วยคันถะและที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็น
คันถะอาศัยสภาวธรรมที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
อภิชฌากายคันถะและสัมปยุตตขันธ์อาศัยสีลัพพตปรามาสกายคันถะเกิดขึ้น (พึงผูก
เป็นจักกนัย) (3)
[108] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะอาศัยสภาวธรรมที่
สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัย
ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะอาศัยสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
คันถะแต่ไม่เป็นคันถะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ คันถะอาศัยขันธ์ที่สัมปยุต
ด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นคันถะสัมปยุตด้วยคันถะและที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ
อาศัยสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ 3 และคันถะอาศัยขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ (3)
[109] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะอาศัยสภาวธรรมที่เป็น
คันถะสัมปยุตด้วยคันถะและที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ คันถะอาศัยคันถะและสัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะอาศัยสภาวธรรมที่เป็นคันถะ
สัมปยุตด้วยคันถะและที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะและอาศัยคันถะเกิดขึ้น
ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :384 }