เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 29.คันถคันถนิยทุกะ 1.ปฏิจจวาร
4. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย

[102] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี 9 วาระ
อธิปติปัจจัย ” มี 9 วาระ

(พึงขยายบทอนุโลมมาติกาให้พิสดาร) ฯลฯ
อวิคตปัจจัย ” มี 9 วาระ
คันถสัมปยุตตทุกะ จบ

29. คันถคันถนิยทุกะ 1. ปฏิจจวาร
เหตุปัจจัย
[103] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะอาศัยสภาวธรรมที่เป็น
คันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ อภิชฌากายคันถะ
อาศัยสีลัพพตปรามาสกายคันถะเกิดขึ้น สีลัพพตปรามาสกายคันถะอาศัยอภิชฌา-
กายคันถะเกิดขึ้น อภิชฌากายคันถะอาศัยอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะเกิดขึ้น อิทัง-
สัจจาภินิเวสกายคันถะอาศัยอภิชฌากายคันถะเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะอาศัยสภาวธรรมที่เป็น
คันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยคันถะเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นอารมณ์ของคันถะและที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่
เป็นคันถะอาศัยสภาวธรรมที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย (1)
(ปฏิจจวาร สหชาตวาร ปัจจยวาร นิสสยวาร สังสัฏฐวาร และสัมปยุตตวาร
เหมือนกับคันถทุกะ ไม่มีข้อแตกต่างกัน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :381 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 29. คันถคันถนิยทุกะ 7. ปัญหาวาร
29. คันถคันถนิยทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[104] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นคันถะเป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตคันถะโดยเหตุปัจจัย (พึงขยายวาระทั้ง 9 ให้พิสดารอย่างนี้)

อารัมมณปัจจัย
[105] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภ
คันถะ คันถะจึงเกิดขึ้น (พึงอ้างบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภคันถะ ขันธ์ที่เป็น
อารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะจึงเกิดขึ้น (พึงอ้างบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภ
คันถะ คันถะและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (3)
[106] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่
เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะพิจารณาโคตรภู พิจารณา
โวทาน พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น
บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟัง
เสียงด้วยทิพพโสตธาตุ (พึงขยายให้พิสดารทั้งหมด) ... เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต
โดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น เพราะปรารภความยินดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :382 }