เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 28.คันถสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะ
และที่วิปปยุตจากคันถะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ โลภะที่วิปปยุตจากทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ปฏิฆะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (3)
[71] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะและที่วิปปยุตจากคันถะเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สหรคตด้วยโลภะซึ่ง
วิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย เหตุที่สหรคต
ด้วยโทมนัสและปฏิฆะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะและที่วิปปยุตจากคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่วิปปยุตจากคันถะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิ
และโลภะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย เหตุที่สหรคตด้วยโทมนัสและ
ปฏิฆะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะและที่วิปปยุตจากคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่สัมปยุตด้วยคันถะและที่วิปปยุตจากคันถะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สหรคต
ด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป
โดยเหตุปัจจัย เหตุที่สหรคตด้วยโทมนัสและปฏิฆะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (3)

อารัมมณปัจจัย
[72] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
คันถะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยคันถะ ขันธ์ที่
สัมปยุตด้วยคันถะจึงเกิดขึ้น (แม้ในวาระทั้ง 3 ก็พึงอ้างบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภ
ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยคันถะ ขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่
สัมปยุตด้วยคันถะ ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจากทิฏฐิและโลภะจึงเกิดขึ้น
ขันธ์ที่สหรคตด้วยโทมนัสและปฏิฆะจึงเกิดขึ้น (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :364 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 28.คันถสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
[73] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก
คันถะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานแล้วพิจารณา
ฌาน พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน
นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย
พระอริยะพิจารณากิเลสที่วิปปยุตจากคันถะซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว
รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะ
โลภะและปฏิฆะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความ
ยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่วิปปยุตจากคันถะจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ฯลฯ
อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่วิปปยุตจากคันถะด้วย
เจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ
อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ รูปายตนะเป็น
ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดย
อารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะ
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ
ยินดีเพลิดเพลินกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดี
เพลิดเพลินกุศลนั้น เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะที่สัมปยุต
ด้วยคันถะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น (ย่อ) (2)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะและ
ที่วิปปยุตจากคันถะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
ขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะ โลภะ และปฏิฆะ ขันธ์ที่สหรคตด้วยโลภะซึ่งวิปปยุตจาก
ทิฏฐิ โลภะ ขันธ์ที่สหรคตด้วยโทมนัสและปฏิฆะจึงเกิดขึ้น (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :365 }