เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 26.คันถทุกะ 7.ปัญหาวาร
ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์
ที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึง
เกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว
ยินดีเพลิดเพลินฌาน ฯลฯ จักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะ
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินฌานเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส
จึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะ
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว ยินดีเพลิด
เพลินกุศลนั้น เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น คันถะและสัมปยุตตขันธ์
จึงเกิดขึ้น ยินดีเพลิดเพลินกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจาฌานแล้วยินดีเพลิด
เพลินฌาน ฯลฯ จักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะ เพราะปรารภ
ความยินดีเพลิดเพลินฌานเป็นต้นนั้น คันถะและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (3)
สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะ
โดยอารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ (พึงเพิ่มคำว่า เพราะปรารภด้วย)

อธิปติปัจจัย
[23] สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยอธิปติ-
ปัจจัย มี 3 วาระ (ปัจจัยนี้เหมือนกับอารัมมณปัจจัย พึงทำให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :340 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 26.คันถทุกะ 7.ปัญหาวาร
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจาก
มรรค ฯลฯ พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน
มรรค และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ
ขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลิน
จักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ
ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความ
ยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ
จึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่คันถะโดย
อธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็น
คันถะโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่เป็น
คันถะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น คันถะและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
คันถะและจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
[24] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
คันถะโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ มี 3 วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :341 }