เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 26.คันถทุกะ 1.ปฏิจจวาร
5. คันถโคจฉกะ
26. คันถทุกะ 1. ปฏิจจวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[1] สภาวธรรมที่เป็นคันถะอาศัยสภาวธรรมที่เป็นคันถะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ อภิชฌากายคันถะอาศัยสีลัพพตปรามาสกายคันถะเกิดขึ้น สีลัพพต-
ปรามาสกายคันถะอาศัยอภิชฌากายคันถะเกิดขึ้น อภิชฌากายคันถะอาศัย
อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะเกิดขึ้น อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะอาศัยอภิชฌา-
กายคันถะเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะอาศัยสภาวธรรมที่เป็นคันถะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยคันถะเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นคันถะและไม่เป็นคันถะอาศัยสภาวธรรมที่เป็นคันถะเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ อภิชฌากายคันถะ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัย
สีลัพพตปรามาสกายคันถะเกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) (3)
[2] สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะอาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นคันถะเกิดขึ้น
ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น
ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น ... อาศัยมหาภูตรูป 1 ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นคันถะอาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ คันถะอาศัยขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะอาศัยสภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 คันถะ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1 ที่ไม่เป็น
คันถะเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :331 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 26.คันถทุกะ 1.ปฏิจจวาร
[3] สภาวธรรมที่เป็นคันถะอาศัยสภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะ
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ อภิชฌากายคันถะอาศัยสีลัพพตปรามาสกายคันถะ
และสัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะอาศัยสภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นคันถะ
และอาศัยคันถะเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยคันถะ
และสัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะอาศัยสภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่
เป็นคันถะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อภิชฌากายคันถะและจิตต-
สมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นคันถะและสีลัพพตปรามาสกายคันถะเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ (3)
(พึงผูกเป็นจักกนัย ย่อ)
เพราะอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย

1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร
สุทธนัย

[4] เหตุปัจจัย มี 9 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ
อธิปติปัจจัย มี 9 วาระ

(ทุกปัจจัย มีปัจจัยละ 9 วาระ)

วิปากปัจจัย มี 1 วาระ
อาหารปัจจัย มี 9 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี 9 วาระ

อนุโลม จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :332 }