เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 22.สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
วิปากปัจจัย
[84] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก
สังโยชน์โดยวิปากปัจจัย มี 1 วาระ

อาหารปัจจัยเป็นต้น
[85] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
สังโยชน์โดยอาหารปัจจัย มี 4 วาระ เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย มี 4 วาระ
เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย มี 4 วาระ เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี 4 วาระ
เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี 6 วาระ

วิปปยุตตปัจจัย
[86] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก
สังโยชน์โดยวิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์
โดยวิปปยุตตปัจจัย มี 3 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์
โดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์โดยวิปปยุตตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์
และที่วิปปยุตจากสังโยชน์โดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยวิปปยุตตปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์และที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์โดยวิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะ
และปัจฉาชาตะ (ย่อ) (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :314 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 22.สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
อัตถิปัจจัยเป็นต้น
[87] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสังโยชน์โดยอัตถิปัจจัย มี 1 วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร) (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์
โดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย
อัตถิปัจจัย ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่โมหะและจิตตสมุฏฐานรูปโดย
อัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
โดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์
และที่วิปปยุตจากสังโยชน์โดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ ขันธ์ 1
ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โมหะ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิ-
ปัจจัย ฯลฯ (3)
[88] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก
สังโยชน์โดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และอินทรียะ (ย่อ พึงขยายให้พิสดาร) (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์
โดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย
อัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์โดยอัตถิปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :315 }