เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 22.สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์
และที่วิปปยุตจากสังโยชน์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะ
ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
[78] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก
สังโยชน์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้
เกิดขึ้น อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ...
โภชนะ ... เสนาสนะและโมหะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธา
ฯลฯ เสนาสนะ และโมหะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติและโมหะโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัย
ศีล ฯลฯ ปัญญา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ...
เสนาสนะและโมหะแล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะและ
โมหะเป็นปัจจัยแก่ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์
และที่วิปปยุตจากสังโยชน์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ
และโมหะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :310 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 22.สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
[79] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์และที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูป-
นิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์โดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์และที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูป-
นิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์
และโมหะที่วิปปยุตจากสังโยชน์โดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์และที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์และที่วิปปยุตจากสังโยชน์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี
2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์
และโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)

ปุเรชาตปัจจัย
[80] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก
สังโยชน์โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็น
ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และโมหะที่
วิปปยุตจากสังโยชน์โดยปุเรชาตปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :311 }