เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 22.สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ พิจารณา
กุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน ฯลฯ ยินดี
เพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์และโมหะที่วิปปยุตจากสังโยชน์
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส
จึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์
และที่วิปปยุตจากสังโยชน์ โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ
หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์และโมหะที่วิปปยุตจากสังโยชน์ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น (3)
[70] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์และที่วิปปยุตจากสังโยชน์เป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์
และโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์จึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบท
ที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ขันธ์และโมหะที่
วิปปยุตจากสังโยชน์จึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์และโมหะที่
สหรคตด้วยอุทธัจจะ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะจึงเกิดขึ้น (3)

อธิปติปัจจัย
[71] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
สังโยชน์โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ ให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินราคะเป็นต้นนั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์
โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :306 }