เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 20.สัญโญชนทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์โดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุ-
ปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และที่ไม่เป็น
สังโยชน์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
สังโยชน์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (3)
[16] สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์
โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

อารัมมณปัจจัย
[17] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์โดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภสังโยชน์ สังโยชน์จึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่
เป็นมูล) เพราะปรารภสังโยชน์ ขันธ์ที่ไม่เป็นสังโยชน์จึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็น
มูล) เพราะปรารภสังโยชน์ สังโยชน์และสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (3)
[18] สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานแล้วพิจารณา
ฌาน พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน
นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย
พระอริยะพิจารณากิเลสที่ไม่เป็นสังโยชน์ซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว
ฯลฯ รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็น
สังโยชน์โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่เป็นสังโยชน์
ด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ
อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ รูปายตนะเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :281 }