เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 17.อาสวสาสวทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอารมณ์
ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อาสวะที่เกิดหลัง ๆ โดย
อนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่อาสวะโดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นอาสวะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ และที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่อาสวะและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิต
เป็นปัจจัยแก่อาสวะและสัมปยุตตขันธ์โดยอนันตรปัจจัย (3)
[114] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นอารมณ์ของอาสวะและที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของ
อาสวะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อาสวะและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่อาสวะที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นอารมณ์ของอาสวะและที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
แต่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อาสวะและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อาสวะ
และสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นอารมณ์ของอาสวะและที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่
ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นอารมณ์ของอาสวะและที่เป็น
อารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อาสวะและสัมปยุตตขันธ์
ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อาสวะและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
(พึงขยายให้พิสดารทั้งหมดอย่างนี้) (3)
(แม้ในอาสวทุกะก็พึงทำอนันตรปัจจัยให้เหมือนกับทุกะนี้ อาวัชชนจิตและ
วุฏฐานะท่านยกขึ้นแสดงไว้แล้วอย่างนี้ ย่อ ทุกอย่างบริบูรณ์แล้ว พึงทำให้เหมือน
กับอาสวทุกะ ไม่มีข้อที่แตกต่างกัน)
อาสวสาสวทุกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :265 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 18.อาสวอาสวสัมปยุตตทุกะ 1.ปฏิจจวาร
18. อาสวอาสวสัมปยุตตทุกะ 1. ปฏิจจวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[115] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะอาศัยสภาวธรรมที่
เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ทิฏฐาสวะและ
อวิชชาสวะอาศัยกามาสวะเกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) อวิชชาสวะอาศัยภวาสวะ
เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) อวิชชาสวะอาศัยทิฏฐาสวะเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอาสวะ
และสัมปยุตด้วยอาสวะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์อาศัยอาสวะ
เกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะสัมปยุตด้วยอาสวะและที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็น
อาสวะ อาศัยสภาวธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ทิฏฐาสวะอวิชชาสวะและสัมปยุตตขันธ์อาศัยกามาสวะที่สัมปยุตด้วยอาสวะ
เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัยทั้งหมด) (3)
[116] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะอาศัยสภาวธรรมที่
สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัย
ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะอาศัยสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ อาสวะอาศัยขันธ์ที่สัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะสัมปยุตด้วยอาสวะและที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็น
อาสวะอาศัยสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ 3 และอาสวะอาศัยขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะเกิดขึ้น
ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :266 }