เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 14.อาสวทุกะ 7.ปัญหาวาร
[36] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ไม่เป็นอาสวะโดยวิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ อาสวะและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย
วิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ อาสวะและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
โดยวิปปยุตตปัจจัย (1)

อัตถิปัจจัย
[37] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยอัตถิ-
ปัจจัย ได้แก่ กามาสวะเป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะและอวิชชาสวะโดยอัตถิปัจจัย (พึง
ผูกเป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดยอัตถิปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ อาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย
อัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ อาสวะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะ
โดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ กามาสวะเป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) (3)
[38] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย
อัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 ฯลฯ (พึง
เพิ่มข้อความจนถึงอสัญญสัตตพรหม)
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :222 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 14.อาสวทุกะ 7.ปัญหาวาร
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กาย-
วิญญาณ ฯลฯ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย
อัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็น
ปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยอัตถิปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่อาสวะโดยอัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น อาสวะจึงเกิดขึ้น หทัยวัตถุเป็นปัจจัย
แก่อาสวะโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็น
อาสวะโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 อาสวะ
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ (พึงผูกเป็นจักกนัย) (3)
[39] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นอาสวะโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ กามาสวะและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะและ
อวิชชาสวะโดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) กามาสวะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัย
แก่ทิฏฐาสวะและอวิชชาสวะโดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
อาสวะโดยอัตถิปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นอาสวะและอาสวะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :223 }