เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 1.เหตุทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุโดยอัตถิปัจจัย มี
2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ เหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย
อัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ เหตุเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุโดยอัตถิ-
ปัจจัย ได้แก่ อโลภะเป็นปัจจัยแก่อโทสะ อโมหะ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป
โดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) โลภะเป็นปัจจัยแก่โมหะ สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (3)
[40] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุโดยอัตถิ-
ปัจจัย มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 1 ที่ไม่
เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และกฏัตตารูป ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ
โดยอัตถิปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป 1 ฯลฯ
ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับ
เหล่าอสัญญสัตตพรหม ฯลฯ
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ เห็นรูปด้วย
ทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็น
เหตุโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิ-
ปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัย
แก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (1)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :21 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 1.เหตุทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุโดยอัตถิปัจจัย มี
2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตเหตุโดยอัตถิปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่เหตุโดยอัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่เหตุโดยอัตถิปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุโดย
อัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 เหตุและจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่เหตุและ
สัมปยุตตขันธ์โดยอัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่
เที่ยงฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่เหตุและสัมปยุตตขันธ์โดยอัตถิปัจจัย (3)
[41] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
เหตุโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ อโลภะและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่อโทสะ อโมหะโดย
อัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) โลภะและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่โมหะโดย
อัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ อโลภะและหทัยวัตถุเป็น
ปัจจัยแก่อโทสะ อโมหะโดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุโดย
อัตถิปัจจัย มี 4 อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่ไม่เป็นเหตุและเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ใน
ปฏิสนธิขณะ เหตุและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุโดยอัตถิปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :22 }