เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 12.โลกิยทุกะ 7.ปัญหาวาร
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรคให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณา
นิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภูและโวทานโดย
อธิปติปัจจัย
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะและที่เป็น
โลกุตตระโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรรมที่เป็น
โลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)

อนันตรปัจจัย
[153] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกิยะซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
โลกิยะซึ่งเกิดหลัง ๆ ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน
โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค อนุโลมเป็นปัจจัยแก่
ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผล-
สมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (2)
[154] สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ
โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกุตตระซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
เป็นโลกุตตระซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ผลเป็น
ปัจจัยแก่ผลโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :190 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 12.โลกิยทุกะ 7.ปัญหาวาร
สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[155] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย
สมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย (มี 5 วาระ ไม่มีฆฏนา ) เป็นปัจจัย
โดยอัญญมัญญปัจจัย มี 2 วาระ เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ

อุปนิสสยปัจจัย
[156] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูป-
นิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นโลกิยะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำ
วิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ
อาศัยศีลที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็น
โลกิยะ ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ ทุกข์ทางกายโดย
อุปนิสสยปัจจัย กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่วิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บริกรรมปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรคโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย ฯลฯ บริกรรมจตุตถมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
[157] สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย
ฯลฯ ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :191 }