เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 1.เหตุทุกะ 7.ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่เหตุและสัมปยุตตขันธ์โดยปุเร-
ชาตปัจจัย (3)

ปัจฉาชาตปัจจัยเป็นต้น
[32] สภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุโดยปัจฉาชาต-
ปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุโดยปัจฉาชาตปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาต-
ปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ เหตุและสัมปยุตตขันธ์ซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่
เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุโดยอาเสวนปัจจัย (ปัจจัย
นี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)

กัมมปัจจัย
[33] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุโดยกัมม-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและ
กฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุโดยกัมมปัจจัย มี 2
อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :17 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 1.เหตุทุกะ 7.ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตเหตุโดยกัมมปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่เหตุที่เป็นวิบากโดยกัมม-
ปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุโดย
กัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ เหตุ และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก เหตุ
และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (3)

วิปากปัจจัย
[34] สภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุโดยวิปากปัจจัย
ได้แก่ อโลภะที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่อโทสะ อโมหะโดยวิปากปัจจัย (เหมือนกับ
ปฏิจจวาร ในวิปากวิภังค์ มี 9 วาระ)

อาหารปัจจัย
[35] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุโดยอาหาร-
ปัจจัย ได้แก่ อาหารที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย
อาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอาหาร-
ปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุโดยอาหารปัจจัย
ได้แก่ อาหารที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตเหตุโดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิ-
ขณะ ฯลฯ (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุ
โดยอาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ เหตุ และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :18 }