เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 11.รูปีทุกะ 7.ปัญหาวาร
อารัมมณปัจจัย
[112] สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ อิตถินทรีย์ ฯลฯ ปุริสินทรีย์
ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ กวฬิงการาหารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
[113] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศล
นั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจาก
มรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่
โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะพิจารณา
กิเลสที่ละได้แล้ว ฯลฯ พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว ฯลฯ พิจารณากิเลสที่เคยเกิด
ขึ้น ฯลฯ บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่ไม่เป็นรูปโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิด
ขึ้น บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่เป็นรูปด้วยเจโตปริยญาณ
อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะเป็น
ปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และ
อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)

อธิปติปัจจัย
[114] สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ กวฬิง-
การาหารให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้น
นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :169 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 11.รูปีทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ (ย่อ) นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรค
และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่เป็นรูปให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ฯลฯ ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย
อธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปโดยอธิปติปัจจัย มี
อย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปและที่ไม่เป็นรูปโดย
อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)

อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[115] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
เกิดหลัง ๆ ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย
(สหชาตปัจจัย มี 7 วาระ ในที่นี้ ไม่มีฆฏนา อัญญมัญญปัจจัย มี 6 วาระ
นิสสยปัจจัย มี 7 วาระ ในที่นี้ ไม่มีฆฏนา)

อุปนิสสยปัจจัย
[116] สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยอุป-
นิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยอุตุ โภชนะ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ
ทำลายสงฆ์ อุตุ โภชนะ และเสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :170 }