เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 10.สัปปฏิฆทุกะ 7.ปัญหาวาร
ปุเรชาตปัจจัย
[75] สภาวธรรมที่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้โดยปุเรชาต-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ โผฏฐัพพะโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้โดยปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งหทัยวัตถุ ฯลฯ อิตถินทรีย์
ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อาโปธาตุ และกวฬิงการาหารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่กระทบไม่ได้โดยปุเรชาต-
ปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กระทบได้และที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะและหทัยวัตถุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
กระทบไม่ได้โดยปุเรชาตปัจจัย (1)

ปัจฉาชาตปัจจัย
[76] สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้โดย
ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่กระทบไม่ได้ซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด
ก่อนซึ่งกระทบไม่ได้โดยปัจฉาชาตปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่กระทบไม่ได้
ซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งกระทบได้โดยปัจฉาชาตปัจจัย (พึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :148 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 10.สัปปฏิฆทุกะ 7.ปัญหาวาร
เพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่กระทบไม่ได้ซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่ง
กระทบได้และกระทบไม่ได้โดยปัจฉาชาตปัจจัย (สำหรับปัจจัยทั้ง 2 พึงเพิ่มบท
ที่เป็นมูล) (3)

อาเสวนปัจจัย
[77] สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้โดย
อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่กระทบไม่ได้ซึ่งเกิดก่อน ๆ ฯลฯ โวทานเป็นปัจจัยแก่
มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (1)

กัมมปัจจัย
[78] สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้โดย
กัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปที่กระทบไม่ได้โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและ
กฏัตตารูปที่กระทบไม่ได้โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบได้โดยกัมมปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่กระทบ
ได้โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่กระทบได้
โดยกัมมปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบได้และที่กระทบไม่ได้
โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปที่กระทบได้และที่กระทบไม่ได้โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :149 }