เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 10.สัปปฏิฆทุกะ 7.ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร
สุทธนัย

[67] เหตุปัจจัย มี 9 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ
อธิปติปัจจัย มี 9 วาระ
อนันตรปัจจัย มี 3 วาระ
สมนันตรปัจจัย มี 3 วาระ
สหชาตปัจจัย มี 9 วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี 6 วาระ
นิสสยปัจจัย มี 9 วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี 3 วาระ
อาเสวนปัจจัย มี 1 วาระ
กัมมปัจจัย มี 9 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี 9 วาระ

(พึงทำการนับปัจจนียะอย่างนี้ นิสสยวารเหมือนกับปัจจยวาร)
(แม้ในสังสัฏฐวาร ทุกปัจจัย มีปัจจัยละ 1 วาระ ย่อ เพราะอวิคตปัจจัย
มีเพียง 1 วาระ พึงเพิ่มเป็น 2 วาระ)

10. สัปปฏิฆทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[68] สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้โดย
เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป
ที่กระทบไม่ได้โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :144 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 10.สัปปฏิฆทุกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบได้โดยเหตุปัจจัย ได้แก่
เหตุที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่กระทบได้โดยเหตุปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (2)
สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบได้และที่กระทบไม่ได้
โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปที่กระทบได้และที่กระทบไม่ได้โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (3)

อารัมมณปัจจัย
[69] สภาวธรรมที่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้โดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ โดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ปุพเพนิวาสา-
นุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้โดยอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน พระอริยะออก
จากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัย
แก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะ
พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น เห็นแจ้ง
หทัยวัตถุ ฯลฯ อิตถินทรีย์ ฯลฯ ปุริสินทรีย์ ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ อาโปธาตุ
และกวฬิงการาหารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของ
บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่กระทบไม่ได้ด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และ
อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :145 }