เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 1.เหตุทุกะ 7.ปัญหาวาร
[23] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำเหตุและ
สัมปยุตตขันธ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เหตุจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุโดย
อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำเหตุและสัมปยุตต-
ขันธ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่
ไม่เป็นเหตุโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำเหตุ
และสัมปยุตตขันธ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เหตุและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (3))

อนันตรปัจจัย
[24] สภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่เหตุที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่
เหตุที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุโดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่เหตุและสัมปยุตตขันธ์ซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (3)
[25] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุโดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู (ย่อ) เนวสัญญานาสัญญา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุโดยอนันตรปัจจัย
ฯลฯ (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุโดย
อนันตรปัจจัย (บทที่มีนเหตุปัจจัยเป็นมูล เหมือนกันทั้ง 3 วาระ) (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :13 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 1.เหตุทุกะ 7.ปัญหาวาร
[26] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ เหตุและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่เหตุที่
เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุโดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ เหตุและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่
เป็นเหตุซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่
เป็นเหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ เหตุและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่เหตุและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (3))

สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[27] สภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุโดยสมนันตรปัจจัย
(ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย) เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย
อัญญมัญญปัจจัย (แม้ทั้ง 2 ปัจจัยนี้เหมือนกับปฏิจจวาร นิสสยปัจจัยเหมือนกับ
นิสสยปัจจัยในปัจจยวาร)

อุปนิสสยปัจจัย
[28] สภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เหตุเป็นปัจจัยแก่เหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่ไม่เป็นเหตุโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :14 }