เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 9.สนิทัสสนทุกะ 5.สังสัฏฐวาร
3. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ

[31] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี 3 วาระ ฯลฯ
นกัมมปัจจัย ” มี 1 วาระ ฯลฯ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี 1 วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี 3 วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี 3 วาระ

อนุโลมปัจจนียะ จบ

4. ปัจจยปัจจนียานุโลม

[32] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี 1 วาระ ฯลฯ
มัคคปัจจัย ” มี 1 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย ” มี 3 วาระ

ปัจจนียานุโลม จบ
(พึงเพิ่มนิสสยวารอย่างนี้)

9. สนิทัสสนทุกะ 5. สังสัฎฐวาร
1. ปัจจยานุโลม
[33] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้เกิดระคนกับสภาวธรรมที่เห็นไม่ได้เพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1 ที่เห็นไม่ได้ ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ 2 ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้เกิดระคนกับสภาวธรรมที่เห็นไม่ได้เพราะอารัมมณปัจจัย
(พึงเพิ่มบททั้งหมดกับการนับสภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งอย่างนี้)
(สัมปยุตตวารเหมือนกับสังสัฏฐวาร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :123 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 9.สนิทัสสนทุกะ 7.ปัญหาวาร
9. สนิทัสสนทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[34] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้โดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่เห็นไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นไม่ได้โดย
เหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุ
ที่เห็นไม่ได้เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นได้โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ
ฯลฯ (2)
สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้และที่เห็นไม่ได้โดยเหตุ-
ปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เห็นไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นได้
และที่เห็นไม่ได้โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (3)

อารัมมณปัจจัย
[35] สภาวธรรมที่เห็นได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้โดยอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งรูปที่เห็นได้โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย
ขันธ์ที่เห็นได้เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ
และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้โดยอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น พิจารณา
กุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน พระอริยะออกจากมรรค
แล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู
โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะพิจารณากิเลส
ที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :124 }