เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 7.สัปปัจจยทุกะ 7.ปัญหาวาร
7. สัปปัจจยทุกะ 3. ปัจจยวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
[7] สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งทำสภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ 1 ที่มีปัจจัย
ปรุงแต่งให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ หทัยวัตถุทำขันธ์ให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ทำมหาภูตรูป 1 ฯลฯ
ขันธ์ที่มีปัจจัยปรุงแต่งทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งทำสภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะอารัมมณปัจจัย (ย่อ)
(พึงขยายปัจจยวาร นิสสยวาร สังสัฏฐวาร และสัมปยุตตวารให้พิสดารอย่างนี้
ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ 1 วาระเท่านั้น)

7. สัปปัจจยทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[8] สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งโดย
เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

อารัมมณปัจจัย
[9] สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :111 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 7.สัปปัจจยทุกะ 7.ปัญหาวาร
พระอริยะออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณากิเลสที่ละได้
แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ
หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่มีปัจจัยปรุงแต่งโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิด
ขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความ
พรั่งพร้อมด้วยจิตที่มีปัจจัยปรุงแต่งด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็น
ปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญา-
นาสัญญายตนะ ฯลฯ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ
และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะพิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู
โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)

อธิปติปัจจัย
[10] สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง
โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว
ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ บุคคลยินดีเพลิดเพลิน
จักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ
จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 42 หน้า :112 }