เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 6. วิตักกติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกวิจารและที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารโดยอาเสวนปัจจัย บริกรรมทุติยฌานและวิตกเป็นปัจจัยแก่
วิจารในทุติยฌานโดยอาเสวนปัจจัย ฯลฯ บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะและ
วิตก ฯลฯ บริกรรมทิพพจักขุและวิตก ฯลฯ บริกรรมอนาคตังสญาณและวิตก
เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณโดยอาเสวนปัจจัย โคตรภูและวิตกเป็นปัจจัยแก่มรรค
ที่ไม่มีทั้งวิตกวิจารและวิจารโดยอาเสวนปัจจัย โวทานและวิตกเป็นปัจจัยแก่มรรคที่
ไม่มีทั้งวิตกวิจารและวิจารโดยอาเสวนปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกวิจารและที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารและที่ไม่มีทั้งวิตกวิจารโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ บริกรรมฌาน
ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารและวิตกเป็นปัจจัยแก่ฌานที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารและวิจาร
โคตรภูและวิตกเป็นปัจจัยแก่มรรคที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารและวิจาร โวทานและวิตก
เป็นปัจจัยแก่มรรคที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารและวิจารโดยอาเสวนปัจจัย (4)
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกวิจารและที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีทั้งวิตกวิจารและที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีทั้ง
วิตกวิจารซึ่งเกิดก่อน ๆ และวิตกเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีทั้งวิตกวิจารซึ่งเกิดหลัง ๆ
และวิตกโดยอาเสวนปัจจัย อนุโลมและวิตกเป็นปัจจัยแก่โคตรภูและวิตก อนุโลม
และวิตกเป็นปัจจัยแก่โวทานและวิตก โคตรภูและวิตกเป็นปัจจัยแก่มรรคที่มีทั้งวิตก
วิจารและวิตก โวทานและวิตกเป็นปัจจัยแก่มรรคที่มีทั้งวิตกวิจารและวิตกโดย
อาเสวนปัจจัย (5)

กัมมปัจจัย
[114] สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีทั้งวิตก
และวิจารโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย
กัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยกัมมปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :95 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 6. วิตักกติกะ 7. ปัญหาวาร
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก
ซึ่งมีทั้งวิตกและวิจารโดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่วิตกโดยกัมมปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่วิตกโดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่วิตกที่เป็นวิบาก
โดยกัมมปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป
โดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก
ซึ่งไม่มีทั้งวิตกวิจารและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกวิจารและที่
ไม่มีทั้งวิตกวิจารโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก
ซึ่งมีทั้งวิตกวิจารและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (4)
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
และที่ไม่มีทั้งวิตกวิจารโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :96 }