เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 6. วิตักกติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกวิจารและที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารและที่ไม่มีทั้งวิตกวิจารโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ศรัทธาที่มีทั้งวิตกและวิจาร ... ศีล ... สุตะ ...
จาคะ .. ปัญญา ... ความปรารถนาและวิตกเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ไม่มีวิตกมีเพียง
วิจาร ... ศีล ... สุตะ ... จาคะ .. ปัญญา และวิจารโดยอุปนิสสยปัจจัย (4)
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกวิจารและที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีทั้งวิตกวิจารและที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ
อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ศรัทธาที่มีทั้งวิตกและวิจาร ... ศีล ... สุตะ .. จาคะ
... ปัญญา ... ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความ
ปรารถนาและวิตกเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีทั้งวิตกและวิจาร ฯลฯ ความปรารถนา
และวิตกโดยอุปนิสสยปัจจัย (5)

ปุเรชาตปัจจัย
[107] สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตก
และวิจารโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีทั้งวิตกวิจาร
และวิจารโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจาร
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ฯลฯ เห็นแจ้งโผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :89 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 6. วิตักกติกะ 7. ปัญหาวาร
เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น
ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารโดย
ปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียง
วิจารโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ และวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น วิตกจึง
เกิดขึ้น ฯลฯ เห็นแจ้งหทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินหทัยวัตถุนั้น วิตกจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารและ
วิตกโดยปุเรชาตปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
และที่ไม่มีทั้งวิตกวิจารโดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารและวิจารโดยปุเรชาตปัจจัย (4)
สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกวิจารและ
ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ
และวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น
ขันธ์ที่มีทั้งวิตกวิจารและวิตกจึงเกิดขึ้น เห็นแจ้งโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย
... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินโสตะ
เป็นต้นนั้น ขันธ์ที่มีทั้งวิตกวิจารและวิตกจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีทั้งวิตกวิจารและวิตก
โดยปุเรชาตปัจจัย (5)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :90 }