เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 6. วิตักกติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกวิจารและที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารและที่ไม่มีทั้งวิตกวิจารโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ศรัทธาที่มีทั้งวิตกและวิจาร ... ศีล ... สุตะ ...
จาคะ .. ปัญญา ... ความปรารถนาและวิตกเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ไม่มีวิตกมีเพียง
วิจาร ... ศีล ... สุตะ ... จาคะ .. ปัญญา และวิจารโดยอุปนิสสยปัจจัย (4)
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกวิจารและที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีทั้งวิตกวิจารและที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ
อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ศรัทธาที่มีทั้งวิตกและวิจาร ... ศีล ... สุตะ .. จาคะ
... ปัญญา ... ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความ
ปรารถนาและวิตกเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีทั้งวิตกและวิจาร ฯลฯ ความปรารถนา
และวิตกโดยอุปนิสสยปัจจัย (5)

ปุเรชาตปัจจัย
[107] สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตก
และวิจารโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีทั้งวิตกวิจาร
และวิจารโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจาร
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ฯลฯ เห็นแจ้งโผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :89 }