เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 22. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ 7. ปัญหาวาร
เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้โดย
อธิปติปัจจัย (2)
(บทที่มีสภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นมูล พึงจําแนกเป็น 7 วาระ
พึงจําแนกอธิบดีธรรมโดยสงเคราะห์เข้าในรูป 3 อย่าง)

อนันตรปัจจัย
[34] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้
และกระทบไม่ได้โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งเกิด
ก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค
โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ผลเป็นปัจจัยแก่ผล อนุโลมเป็น
ปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัย
แก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (1)

สมนันตรปัจจัย
[35] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็น
ไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)

สหชาตปัจจัยเป็นต้น
[36] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้
แต่กระทบได้โดยสหชาตปัจจัย (พึงทําให้เหมือนกับปฏิจจวาร ในอัญญมัญญปัจจัย
เหมือนกับอัญญมัญญปัจจัย ในปฏิจจวาร ในนิสสยปัจจัย เหมือนกับปฏิจจวาร)

อุปนิสสยปัจจัย
[37] สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และ
กระทบไม่ได้โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูป-
นิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :649 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 22. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ 7. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเมื่อปรารถนาวรรณสมบัติ จึงให้ทาน สมาทาน
ศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ วรรณสมบัติเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ
... ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... มรรคและผลสมาบัติ
โดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และ
กระทบไม่ได้โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูป-
นิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเมื่อปรารถนาจักขุสมบัติ ฯลฯ เมื่อปรารถนา
กายสมบัติ ... สัททสมบัติ ... โผฏฐัพพสมบัติ จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษา
อุโบสถ ... บุคคลอาศัยอุตุ ... เสนาสนะแล้วให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ...
ทําฌาน ... วิปัสสนา ... มรรค ... อภิญญา ... สมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ
ทําลายสงฆ์ จักขุสมบัติ ฯลฯ โผฏฐัพพสมบัติ ... อุตุ ... เสนาสนะเป็นปัจจัย
แก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ... สุขทางกาย ...
ทุกข์ทางกาย ... มรรคและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
[38] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้
และกระทบไม่ได้โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน สมาทานศีล รักษา
อุโบสถ ... ทําฌาน ... สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา
... ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกายและโภชนะแล้ว
ให้ทาน ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา
... สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และโภชนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... มรรค
และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)

ปุเรชาตปัจจัย
[39] สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้
และกระทบไม่ได้โดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :650 }