เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 22. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ 7. ปัญหาวาร
อธิปติปัจจัย
[32] สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และ
กระทบไม่ได้โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดี
เพลิดเพลินรูปให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินรูปนั้น
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบ
ไม่ได้ โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดี
เพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ กาย ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (1)
[33] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็น
ไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและ
สหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระ
อริยะออกจากมรรค ฯลฯ ออกจากผล ฯลฯ พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ฯลฯ พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ... นิพพานเป็น
ปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลิน
หทัยวัตถุ ... อิตถินทรีย์ ... ปุริสินทรีย์ ... ชีวิตินทรีย์ ... อาโปธาตุ ...
กวฬิงการาหาร ... ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินหทัยวัตถุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้และ
กระทบได้โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :648 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 22. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ 7. ปัญหาวาร
เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้โดย
อธิปติปัจจัย (2)
(บทที่มีสภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นมูล พึงจําแนกเป็น 7 วาระ
พึงจําแนกอธิบดีธรรมโดยสงเคราะห์เข้าในรูป 3 อย่าง)

อนันตรปัจจัย
[34] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้
และกระทบไม่ได้โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งเกิด
ก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค
โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ผลเป็นปัจจัยแก่ผล อนุโลมเป็น
ปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัย
แก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (1)

สมนันตรปัจจัย
[35] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็น
ไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)

สหชาตปัจจัยเป็นต้น
[36] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้
แต่กระทบได้โดยสหชาตปัจจัย (พึงทําให้เหมือนกับปฏิจจวาร ในอัญญมัญญปัจจัย
เหมือนกับอัญญมัญญปัจจัย ในปฏิจจวาร ในนิสสยปัจจัย เหมือนกับปฏิจจวาร)

อุปนิสสยปัจจัย
[37] สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และ
กระทบไม่ได้โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูป-
นิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :649 }