เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 21. อัชฌัตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
อารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัย
แก่มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (1)

กัมมปัจจัย
[22] สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
ธรรมภายในตนเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ที่เป็นวิบากซึ่งมีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีธรรม
ภายนอกตนเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีธรรมภาย
นอกตนเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีธรรม
ภายนอกตนเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีธรรม
ภายในตนเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีธรรมภายใน
ตนเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :625 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 21. อัชฌัตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
วิปากปัจจัยเป็นต้น
[23] สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
ธรรมภายในตนเป็นอารมณ์โดยวิปากปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็น
ปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย เป็น
ปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย เป็น
ปัจจัยโดยวิคตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย

1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร
สุทธนัย

[24] เหตุปัจจัย มี 2 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 4 วาระ
อธิปติปัจจัย มี 3 วาระ
อนันตรปัจจัย มี 4 วาระ
สมนันตรปัจจัย มี 4 วาระ
สหชาตปัจจัย มี 2 วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี 2 วาระ
นิสสยปัจจัย มี 2 วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี 4 วาระ
อาเสวนปัจจัย มี 3 วาระ
กัมมปัจจัย มี 4 วาระ
วิปากปัจจัย มี 2 วาระ ฯลฯ

(ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ 2 วาระ)

สัมปยุตตปัจจัย มี 2 วาระ
อัตถิปัจจัย มี 2 วาระ
นัตถิปัจจัย มี 4 วาระ
วิคตปัจจัย มี 4 วาระ
อวิคตปัจจัย มี 2 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

อนุโลม จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :626 }