เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 21. อัชฌัตตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้วออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออก
จากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น บุคคล
พิจารณาทิพพจักขุที่เป็นภายในตนซึ่งมีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาทิพพโสตธาตุ ... อิทธิวิธญาณ ... เจโตปริยญาณ
... ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ .... ยถากัมมูปคญาณ .... อนาคตังสญาณให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นภายในตนซึ่งมีธรรมภายนอกตน
เป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น (2)

อนันตรปัจจัย
[16] สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
ธรรมภายในตนเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็น
อารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ
โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีธรรม
ภายนอกตนเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่มีธรรมภายในตนเป็น
อารมณ์เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตซึ่งมีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย
ภวังคจิตที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตซึ่งมีธรรมภายนอก
ตนเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
วุฏฐานะซึ่งมีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมที่มีธรรม
ภายในตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่โคตรภู ... อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ... อนุโลม
เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ... เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็น
ปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (2)
[17] สภาวธรรมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีธรรมภายนอกตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :622 }