เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 20. อัชฌัตตติกะ 7. ปัญหาวาร
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะที่เป็นภายในตน
เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นภายในตน
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นภายนอกตนโดยปุเรชาตปัจจัย (2)
[37] สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลอื่นเห็นแจ้งจักษุที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ
หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพ-
โสตธาตุ รูปายตนะที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นภายนอกตน
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นภายนอก
ตน ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย
ปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุที่
เป็นภายนอกตน ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะที่เป็นภายนอก
ตนเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นภายในตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นภาย
นอกตนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นภายในตนโดยปุเรชาตปัจจัย (2)
[38] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นภายในตนโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุ-
ปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะที่เป็นภายนอกตนและจักขายตนะที่เป็นภายในตนเป็น
ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นภายในตนโดยปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่
เป็นภายนอกตนและกายายตนะที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็น
ภายในตน ฯลฯ รูปายตนะที่เป็นภายนอกตนและหทัยวัตถุที่เป็นภายในตน ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะที่เป็นภายนอกตนและหทัยวัตถุที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
เป็นภายในตนโดยปุเรชาตปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :606 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 20. อัชฌัตตติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
ภายนอกตนโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
ได้แก่ รูปายตนะที่เป็นภายในตนและจักขายตนะที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่
จักขุวิญญาณที่เป็นภายนอกตนโดยปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็น
ภายในตนและกายายตนะที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นภายนอก
ตนโดยปุเรชาตปัจจัย รูปายตนะที่เป็นภายในตนและหทัยวัตถุที่เป็นภายนอกตน
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นภายในตนและหทัยวัตถุที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนโดยปุเรชาตปัจจัย (2)

ปัจฉาชาตปัจจัย
[39] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นภายในตนซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่
เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่
เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (1)

อาเสวนปัจจัย
[40] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย
อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นภายในตนซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
ภายในตนซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม
เป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดย
อาเสวนปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย
อาเสวนปัจจัยได้แก่ ขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ ฯลฯ (เหมือนกับสภาวธรรมที่เป็นภายใน
ตนนั่นเอง)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :607 }