เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 20. อัชฌัตตติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย
อนันตรปัจจัย (ข้อว่า ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนซึ่งเกิดก่อน ๆ ดังนี้ เป็นข้อแตกต่างกัน
ข้อนั้นแหละพึงดําเนินความตามข้อความข้างต้น) (1)

สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[33] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตน
โดยสมนันตรปัจจัย ฯลฯ (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย) เป็นปัจจัยโดยสหชาต-
ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัย
[34] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นภายในตนแล้วให้ทาน สมาทาน
ศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ ทําฌาน ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ
สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลอาศัยศีลที่เป็นภายในตน ฯลฯ ปัญญา
ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ
อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติ ให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์
ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นภายในตน ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ
ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะเป็น
ปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นภายในตน ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา
ฯลฯ สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอื่นอาศัยศรัทธาที่เป็นภายในตนแล้วให้ทาน ฯลฯ
มีมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลอื่นอาศัยศีลที่เป็นภายในตน ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน
ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นภายในตน ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่
ศรัทธาที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ มรรคและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :604 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 20. อัชฌัตตติกะ 7. ปัญหาวาร
[35] สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอื่นอาศัยศรัทธาที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ ความ
ปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธา
ที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ
ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ เสนาสนะ
แล้วให้ทาน ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นภายนอกตน ฯลฯ เสนาสนะเป็น
ปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นภายในตน ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)

ปุเรชาตปัจจัย
[36] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย
ปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุที่เป็นภายในตน ฯลฯ หทัยวัตถุ
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็น
รูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นภายในตนโดย
ปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดย
ปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลอื่นเห็นแจ้ง
จักษุที่เป็นภายในตน ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :605 }