เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 20. อัชฌัตตติกะ 7. ปัญหาวาร
ภายนอกตน ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นภายนอกตนโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิต
ของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นภายนอกตนด้วยเจโตปริยญาณ รูปายตนะ
ที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นภายในตน ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ที่เป็นภายนอกตนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นภายในตน ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นภาย
นอกตนเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (2)

อธิปติปัจจัย
[30] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายในตนโดย
อธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌานให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น บุคคล
ยินดีเพลิดเพลินจักษุที่เป็นภายในตน ฯลฯ หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่เป็นภายในตนให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนโดยอธิปติ-
ปัจจัยมีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลอื่นยินดีเพลิดเพลินจักษุที่
เป็นภายในตน ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นภายในตนให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :602 }