เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 19. อตีตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
ปฏิสนธิจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่มีอดีตธรรมเป็น
อารมณ์เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (3)
[27] สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีอนาคตธรรมเป็น
อารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ
โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อิทธิวิธญาณที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็น
ปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ เจโตปริยญาณเป็นปัจจัยแก่
วุฏฐานะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ อนาคตังสญาณเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มี
อดีตธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ ขันธ์ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
วุฏฐานะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (2)
[28] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
ซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดย
อนันตรปัจจัย ปฏิสนธิจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ ภวังคจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
ภวังคจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ปฏิสนธิจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็น
ปัจจัยแก่ภวังคจิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ ภวังคจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็น
อารมณ์เป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ ขันธ์ที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (2)

สมนันตรปัจจัย
[29] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีต
ธรรมเป็นอารมณ์โดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :580 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 19. อตีตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตปัจจัยเป็นต้น
[30] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีต
ธรรมเป็นอารมณ์โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัย
โดยนิสสยปัจจัย (ปัจจัยแม้ทั้ง 3 เหมือนกับปฏิจจวาร)

อุปนิสสยปัจจัย
[31] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีต-
ธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา
ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และ
อนัตตานุปัสสนาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา
ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และ
อนัตตานุปัสสนาที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ
ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา
ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และ
อนัตตานุปัสสนาที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :581 }