เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 19. อตีตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคล
พิจารณาทิพพจักขุที่เป็นอดีตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาทิพพโสตธาตุ
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอดีตซึ่งมีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาเจโตปริยญาณให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นอดีตซึ่งมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ราคะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคล
พิจารณาทิพพจักขุที่เป็นอนาคตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาทิพพโสต-
ธาตุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาอิทธิวิธญาณที่เป็นอนาคตซึ่งมี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาเจโตปริย-
ญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นอนาคตซึ่งมี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิด
เพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิด
ขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (3)

อนันตรปัจจัย
[26] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ภวังคจิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัย
แก่อาวัชชนจิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :579 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 19. อตีตารัมมณติกะ 7. ปัญหาวาร
ปฏิสนธิจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่มีอดีตธรรมเป็น
อารมณ์เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (3)
[27] สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีอนาคตธรรมเป็น
อารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ
โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อิทธิวิธญาณที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็น
ปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ เจโตปริยญาณเป็นปัจจัยแก่
วุฏฐานะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ อนาคตังสญาณเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มี
อดีตธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ ขันธ์ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
วุฏฐานะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (2)
[28] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
ซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดย
อนันตรปัจจัย ปฏิสนธิจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ ภวังคจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
ภวังคจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ปฏิสนธิจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เป็น
ปัจจัยแก่ภวังคจิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ ภวังคจิตที่มีปัจจุบันธรรมเป็น
อารมณ์เป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ ฯลฯ ขันธ์ที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (2)

สมนันตรปัจจัย
[29] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอดีต
ธรรมเป็นอารมณ์โดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :580 }