เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 19. อตีตารัมมณติกะ 1. ปฏิจจวาร
19. อตีตารัมมณติกะ 1. ปฏิจจวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[1] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็น
อารมณ์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่มีอดีตธรรมเป็น
อารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ 2 อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 3 อาศัย
ขันธ์ 1 ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ 2 อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น (1)
[2] สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่มีอนาคต
ธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ (1)
[3] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ 2 ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ (1)

อารัมมณปัจจัยเป็นต้น
[4] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็น
อารมณ์เกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย (อธิปติปัจจัย ไม่มีปฏิสนธิ)
เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย เพราะอัญญมัญญปัจจัย
เพราะนิสสยปัจจัย เพราะอุปนิสสยปัจจัย เพราะปุเรชาตปัจจัย เพราะอาเสวนปัจจัย
(ปุเรชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัยไม่มีปฏิสนธิ) เพราะกัมมปัจจัย เพราะวิปากปัจจัย
(... อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นวิบากซึ่งมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ ... 3 วาระ บริบูรณ์แล้ว
พึงเพิ่มปวัตติกาลและปฏิสนธิกาล) เพราะอาหารปัจจัย เพราะอินทรียปัจจัย
เพราะฌานปัจจัย เพราะมัคคปัจจัย เพราะสัมปยุตตปัจจัย เพราะวิปปยุตตปัจจัย
เพราะอัตถิปัจจัย เพราะนัตถิปัจจัย เพราะวิคตปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :569 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 19. อตีตารัมมณติกะ 1. ปฏิจจวาร
1. ปัจจยานุโลม 2. สังขยาวาร

[5] เหตุปัจจัย มี 3 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ
อธิปติปัจจัย มี 3 วาระ ฯลฯ

(ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ 3 วาระ)

วิคตปัจจัย มี 3 วาระ
อวิคตปัจจัย มี 3 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

อนุโลม จบ

2. ปัจจยปัจจนียะ 1. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[6] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็น
อารมณ์เกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอเหตุกะซึ่ง
มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็น
อเหตุกะ ฯลฯ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะอาศัยขันธ์ที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น (1)
[7] สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์เกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอเหตุกะ
ซึ่งมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ โมหะที่สหรคต
ด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะอาศัยขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น (1)
[8] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์เกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอเหตุกะซึ่ง
มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็น
อเหตุกะ ฯลฯ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะอาศัยขันธ์ที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้น (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :570 }