เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 18. อตีตติกะ 7. ปัญหาวาร
ที่เป็นอนาคตโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นอนาคต
เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันโดยอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ กาย ... รูป ... เสียง ...
กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่เป็นปัจจุบันโดยเป็นสภาวะไม่
เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กาย-
วิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นปัจจุบันเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (1)

อธิปติปัจจัย
[4] สภาวธรรมที่เป็นอดีตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้วให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากฌานแล้ว
พิจารณาฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณา
มรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุที่เป็นอดีต ฯลฯ กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ...
รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่เป็นอดีตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทําความยินดีเพลิด เพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ
จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่เป็นอนาคตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต
ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่เป็นอนาคตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทํา
ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :561 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 18. อตีตติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันโดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่างคือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ หทัยวัตถุ
... ขันธ์ที่เป็นปัจจุบันให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลิน
จักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นปัจจุบันเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)

อนันตรปัจจัย
[5] สภาวธรรมที่เป็นอดีตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันโดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอดีตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นปัจจุบันซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน
โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ผล
เป็นปัจจัยแก่ผล อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่าน
ผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (1)

สมนันตรปัจจัย
[6] สภาวธรรมที่เป็นอดีตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันโดยสมนันตร-
ปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย) (1)

สหชาตปัจจัยเป็นต้น
[7] สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันโดยสหชาต-
ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย (ย่อ) (1)

อุปนิสสยปัจจัย
[8] สภาวธรรมที่เป็นอดีตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :562 }