เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 17. อุปปันนติกะ 7. ปัญหาวาร
แน่นอนโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
ขันธ์ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ อนาคตังสญาณ
และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)

อธิปติปัจจัย
[5] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุที่เกิดขึ้นให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินโสตะที่เกิดขึ้น ... ฆานะ ...
ชิวหา ... กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ
... ขันธ์ที่เกิดขึ้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินโสตะ
เป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินรูปที่ยังไม่เกิดขึ้น ...
เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ขันธ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินรูปเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่จักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุที่จักเกิดขึ้น
แน่นอน ฯลฯ กาย ... รูป ฯลฯ โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่จักเกิดขึ้น
แน่นอนให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้น
นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :551 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 17. อุปปันนติกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตปัจจัย
[6] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยสหชาตปัจจัย ฯลฯ
ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยสหชาตปัจจัย ในปฏิสนธิ-
ขณะ ขันธ์ 1 ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และกฏัตตารูปโดยสหชาตปัจจัย
ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 และกฏัตตารูปโดยสหชาตปัจจัย ขันธ์เป็น
ปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยสหชาตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยสหชาตปัจจัย
มหาภูตรูป 1 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 3 โดยสหชาตปัจจัย ฯลฯ มหาภูตรูป 2
ฯลฯ มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปโดย
สหชาตปัจจัย ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน
... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป 1 ฯลฯ มหาภูตรูป 2 ฯลฯ
มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปโดยสหชาตปัจจัย (1)

อัญญมัญญปัจจัย
[7] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอัญญมัญญปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 โดยอัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2
ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 1 ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และหทัยวัตถุโดย
อัญญมัญญปัจจัย ขันธ์ 2 ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยอัญญมัญญปัจจัย
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยอัญญมัญญปัจจัย มหาภูตรูป 1 ฯลฯ ที่เป็น
ภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สําหรับเหล่า
อสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป 1 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 3 โดยอัญญมัญญปัจจัย
ฯลฯ มหาภูตรูป 2 ฯลฯ (1)

นิสสยปัจจัย
[8] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปโดยนิสสยปัจจัย
ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :552 }