เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 17. อุปปันนติกะ 7. ปัญหาวาร
17. อุปปันนติกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[1] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย ได้แก่
เหตุที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิ-
ขณะ เหตุที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยเหตุปัจจัย (1)

อารัมมณปัจจัย
[2] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุที่เกิดขึ้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เห็นแจ้งโสตะที่
เกิดขึ้น ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ
... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่เกิดขึ้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ
เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ
ขันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณและอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
[3] สภาวธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งรูปที่ยังไม่เกิดขึ้น ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ
... ขันธ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น ขันธ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ
อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
[4] สภาวธรรมที่จักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุที่จักเกิดขึ้นแน่นอน ฯลฯ กาย ... รูป
... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่จักเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :550 }