เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 6. วิตักกติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกวิจารและที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีทั้งวิตกวิจารและวิตกเป็น
ปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และ
อนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ที่มีทั้งวิตกวิจารและวิตก
ขันธ์ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารจึงเกิดขึ้น (3)
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกวิจารและที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีทั้งวิตกวิจารและที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภ
ขันธ์ที่มีทั้งวิตกวิจารและวิตก ขันธ์ที่มีทั้งวิตกวิจารและวิตกจึงเกิดขึ้น (4)

อธิปติปัจจัย
[74] สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและ
วิจารโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากฌานที่มีทั้งวิตกและวิจาร ออกจากมรรค
ออกจากผลแล้วพิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่มี
ทั้งวิตกและวิจารให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินขันธ์
นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจารเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำการพิจารณากุศลนั้นให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น วิตกจึงเกิดขึ้น บุคคลพิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากฌานที่มีทั้งวิตกและวิจาร ออกจากมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :55 }