เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 15. มิจฉัตตนิยตติกะ 7. ปัญหาวาร
[47] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่
แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองแล้ว
ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ ทําฌานให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา ... อภิญญา
... สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ...
สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ... สุขทางกาย ...
ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม
ศรัทธาที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ฯลฯ เสนาสนะ
เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ สุขทางกาย ... ทุกข์
ทางกาย ... ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่
ปฐมฌานนั้นเท่านั้น ฯลฯ บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนว-
สัญญานาสัญญายตนะนั้นเท่านั้น ฯลฯ ปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน ฯลฯ
อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ ปาณาติบาตเป็น
ปัจจัยแก่ปาณาติบาตโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงทําเป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ
ผิดและให้ผลแน่นอนโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองแล้ว
ปลงชีวิตมารดา ฯลฯ ทําลายสงฆ์อาศัยโทสะที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ
ความปรารถนา ... สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้วปลงชีวิตมารดา ฯลฯ ทําลาย
สงฆ์ ราคะที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม
... ปิตุฆาตกรรม ... อรหันตฆาตกรรม ... โลหิตุปปาทกรรม ... สังฆเภทกรรม
... มิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่นอนโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ
ชอบและให้ผลแน่นอนโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :508 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 15. มิจฉัตตนิยตติกะ 7. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บริกรรมปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ฯลฯ
บริกรรมจตุตถมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)

ปุเรชาตปัจจัย
[48] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่
แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ
และวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ
เป็นต้นนั้น ราคะที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่
จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการ
ทั้งสองโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ
ผิดและให้ผลแน่นอนโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ
และวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ...
ปิตุฆาตกรรม ... อรหันตฆาตกรรม ... โลหิตุปปาทกรรมโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่
นอนโดยปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ
ชอบและให้ผลแน่นอนโดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนโดยปุเรชาตปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :509 }