เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 15. มิจฉัตตนิยตติกะ 1. ปฏิจจวาร

นสมนันตรปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี 5 วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” มี 5 วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” มี 5 วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี 6 วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี 9 วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี 5 วาระ
นกัมมปัจจัย ” มี 3 วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี 9 วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” มี 5 วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี 2 วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี 5 วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี 5 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

อนุโลมปัจจนียะ จบ

4. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย

[13] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี 1 วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี 1 วาระ
สมนันตรปัจจัย ” มี 1 วาระ
สหชาตปัจจัย ” มี 1 วาระ ฯลฯ
วิคตปัจจัย ” มี 1 วาระ (พึงนับอย่างนี้)

ปัจจนียานุโลม จบ
ปฏิจจวาร จบ
(สหชาตวารเหมือนกับปฏิจจวาร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :490 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 15. มิจฉัตตนิยตติกะ 3. ปัจจยวาร
15. มิจฉัตตนิยตติกะ 3. ปัจจยวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[14] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและ
ให้ผลแน่นอนให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย มี 3 วาระ
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและ
ให้ผลแน่นอนให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย มี 3 วาระ
[15] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองทำสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐาน-
รูปทำขันธ์ 1 ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ 2
ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ หทัยวัตถุทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุ
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ทำมหาภูตรูป 1 ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง
ทำหทัยวัตถุ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการ
ทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่
นอน ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการ
ทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผล
แน่นอนทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (3)
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองทำ
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐาน-
รูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :491 }